ประเภทของรางระบายน้ำ
รางระบายน้ำ
การบริหารจัดการความสะอาดและการชะล้าง สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือรางระบายน้ำเพื่อให้สามารถระบายน้ำเสียออกจากพื้นที่ได้ เราจึงจำเป็นจำต้องมีการติดตั้งช่องทางและอุปกรณ์ที่สามารถทำหน้าที่ลำเลียงน้ำเสียออกไปสู่ท่อน้ำทิ้งสาธารณะ ซึ่งนอกจากจะมีเพื่อความสะอาดและสุขอนามัยที่ดีภายในอาคาร ก็ยังจะต้องคำนึงถึงความสะดวกต่อการจัดการด้วยเช่นกัน
โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะพบเห็นรางระบายน้ำได้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ ร้านอาหาร ซึ่งจำเป็นต้องมีการถ่ายของเสียออกตลอดเวลา แต่ถ้าหากสภาพแวดล้อมในพื้นที่ใดนั้น มักจะเปียกชุ่มหรือมีน้ำขังอยู่บ่อยๆ ก็ไม่ควรที่จะลังเลในการติดตั้งรางระบายน้ำเพื่อให้พื้นที่นั้นแห้งเหมาะแก่การใช้พื้นที่ได้อย่างมีความเรียบร้อย
ประเภทของรางระบายน้ำ
รางระบายน้ำที่วางขายอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลักๆ 2 ชนิด คือ
1.รางระบายน้ำคอนกรีต
เป็นรางระบายน้ำที่ใช้งบประมาณไม่แพงมาก เนื่องจากใช้ต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ แต่อาจมีราคาที่แตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะของการออกแบบ เช่น ความสวยงาม หรือ คุณภาพของคอนกรีต ซึ่งในบริเวณปากลิ้นจะมีมีรูที่สามารถเชื่อมต่อรางระหว่างกันได้ มีการวางโครงสร้างเหล็กภายในเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้แก่ตัวรางระบาย ซึ่งรางระบายน้ำชนิดนี้จะใช้คู่กับฝาท่อคอนกรีตที่มีการเว้นช่องว่างระบายอากาศไว้ หรือจะเปลี่ยนมาใช้ตะแกรงเหล็กเคลือบสารกัลวาไนซ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำหนักกดทับให้มากขึ้นก็ได้
โดยรวมแล้วรางระบายน้ำคอนกรีต ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการจะประหยัดค่าใช้จ่าย และต้องการอุปกรณ์สำหรับนำมาใช้ระบายน้ำ
2.รางระบายน้ำเหล็ก
เป็นรางระบายน้ำที่มีราคาสูงกว่าแบบคอนกรีต เนื่องจากใช้วัสดุเหล็ก จึงทำให้ต้นทุนในการผลิตแพงกว่า แต่ผู้ใช้จะได้มาซึ่งความแข็งแรงของวัสดุ ที่ไม่มีวันเสียหายได้ง่าย ซึ่งรางระบายน้ำที่ได้มาตรฐานควรจะต้องมีการชุบสารกันสนิมเอาไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวเหล็กโดนความชื้นกัดกร่อนและเกิดความเสียหาย หลังใช้งานไปเป็นเวลานานๆ โดยรางระบายน้ำเหล็กนิยมใช้คู่กับตะแกรงเหล็ก ซึ่งการเลือกตะแกรงมาใช้ร่วมกันนั้น ควรจะเลือกสินค้าที่มีงานเชื่อมเรียบเป็นเนื้อเดียวกัน เนื่องจากการเชื่อมที่ดีจะส่งผลต่ออายุการใช้งานของตะแกรงเหล็กนั่นเอง
โดยรวมแล้วรางระบายน้ำเหล็กถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม กับผู้ที่ต้องการวัสดุทนทานแข็งแรง และพื้นที่ตรงนั้นต้องได้รับการกดทับอย่างหนักบ่อยครั้ง เช่น โรงจอดรถ หรือบนเส้นทางสัญจรของรถยนต์ เนื่องจากหากใช้รางคอนกรีต มันอาจไม่สามารถรับน้ำหนักมากเป็นเวลานานได้ โดยเฉพาะกับรถบรรทุก ที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่ฝารางคอนกรีตจนเกิดการแตกหักในท้ายที่สุด